SMart Art ลัทธิทางศิลปะ

ลัทธิทางศิลปะ

ลัทธิทางศิลปะ post thumbnail image

ศิลปะ หมายถึง ผลแห่งพลังความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูปลักษณ์ต่าง ๆ ให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือ ความสะเทือนอารมณ์ ตามอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา รสนิยมและทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ หรือเพื่อสนองตอบขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี หรือความเชื่อในลัทธิศาสนา          

            1. ลัทธินีโอคลาสสิค (Neo-Classic)(ค.ศ.1800) ลัทธินี้ ศิลปินเกิดหวนกลับไปมีค่านิยมการสร้าง  ผลงานแบบกรีกและโรมันอีกครั้ง   ซึ่งศิลปินเหล่านี้ชอบความเรียบร้อยและเคร่งครัดในศิลปะแบบโบราณ  ลักษณะผลงานของลัทธินีโอคลาสสิค คือ มักเป็นภาพที่มีระยะใกล้ กลาง ไกล หรือที่เรียกว่า   Perspective   ฉากหลังรูปวาดส่วนใหญ่มักมีอาคาร หรือ เสา ของกรีกหรือโรมันมักใช้สีมืดๆเป็น ระยะ  เน้นหนักไปทางสีน้ำตาล ดำ เขียวและขาว   ศิลปะแบบนีโอคลาสสิครุ่งเรืองอยู่ได้เพราะได้รับการส่งเสริมจากระบอบปฏิวัติของพระเจ้านโปเลียน   พวกที่ปฏิวัติเองก็ชอบส่งเสริมให้มีการดำรงชีพ ที่เคร่งครัดแบบกรีกและโรมัน  ศิลปินที่มีชื่อเสียงคือ เดวิด(David)(ค.ศ. 1748 – 1825)  เป็นศิลปิน  ชาวฝรั่งเศส  ผลงานของเขามักเป็นการวาดภาพที่แสดงถึงความกล้าหาญของวีรบุรุษ   เช่น  LE SERMENT DES  HORACES , LA MORTDE MARAT   คนต่อมาคือ แองก์(Ingres) (ค.ศ.1780-    1867) ผลงานของเขาเป็นแบบคลาสสิคเต็มที่  เขามักวาดภาพคนที่ร่ำรวย หน้าตาโหดเหี้ยมและพอใจในอำนาจเงิน  และภาพวาดหญิงสาวเปลือยของเขานั้นสวยงามมากและแองก์ยังได้วาดภาพเกี่ยวกับเทพนิยายโบราณอีกด้วย
          2. ลัทธิโรแมนติค (Romantic)(เกิดเมื่อ ค.ศ.1820)  ลัทธินี้ เกิดจากศิลปินมีความเบื่อหน่ายความ จริงแบบสมัยกรีก โรมัน หรือ ศิลปะแบบคลาสสิค    ศิลปินในกลุ่มนี้จึงชอบสร้างผลงานที่ยึดถือเป็นแนวปฏิบัติตามกันอยู่ในคติที่ว่าผลงานที่ดีจะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ เลิกใช้ภาพแบบประวัติหรือเทพนิยายกรีกแบบโบราณ  รูปที่วาดจะมีคุณค่าได้จะต้องเหมือนเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น   หรือเป็นเรื่องตื่นเต้น  และรูปวาดนั้นจะต้องเป็นเรื่องเหตุการณ์ในยุคกลาง ชอบแสดงความรู้สึก  รุนแรงยุ่งเหยิง ศิลปินที่มีชื่อเสียง เช่น  เจริโคท์(Gericault)(ค.ศ.1719 – 1824) เป็นศิลปินที่ชอบสร้างสรรค์ผลงานที่น่ากลัวและตื่นเต้น  ผลงานที่มีชื่อเสียง เช่น แพเมดูซา   ในบทความนี้อาจจะกล่าวถึงลัทธิทางศิลปะเพียงแค่2ลัทธิ แต่จริงๆแล้วลัทธิทางศิลปะนั้นมีมากกว่านี้ ถ้าใครสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ เราแนะนำให้สืบค้นเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจในลัทธิทางศิลปะมากยิ่งขึ้น

Related Post

art1

สถานที่แสดงงานศิลปะสถานที่แสดงงานศิลปะ

หลายคนคงจะเคยได้ยินคำว่าศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้นกันมาบ้าง ความหมายของประโยคคลาสสิกนี้อาจกล่าวได้ว่าชีวิตเราช่างแสนสั้น แต่ผลงานที่ทำยังคงอยู่ แม้จะเราตายไปแล้วก็ตาม ด้วยเหตุนี้ศิลปินทั้งหน้าใหม่ หน้าเก่าจึงสร้างผลงานอันเต็มไปด้วยจิตวิญญาณ ที่จะยังคงจัดแสดงอยู่ตามแกลเลอรีตราบจนร่างกายสลายไป และสำหรับสายอาร์ตที่หลงไหลในงานศิลปะหรือศิลปินที่กำลังมองหาพื้นที่แสดงผลงานของตัวเองอยู่ วันนี้เราก็รวบรวมสถานที่จัดแสดงงานศิลปะมาฝากกันที่นี่แล้ว             1. THE QUEEN’S GALLERY The Queen’s Gallery เป็นหอศิลปะที่เกิดขึ้นด้วยพระมหา กรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดแสดงผลงานทางศิลปะของศิลปินชาวไทย ทั้งศิลปินอาวุโสผู้มากผลงาน รวมถึงศิลปินหน้าใหม่ด้วย          2. BANGKOK ART AND CULTURE CENTRE

art

ศิลปะแบบนามธรรมศิลปะแบบนามธรรม

ในขณะที่ศิลปะแนวสัจนิยมพยายามนำเสนอภาพของความเป็นจริง ศิลปะแบบนามธรรมพยายามแสวงหาสิ่งที่ตรงกันข้าม ศิลปินนามธรรมยุคแรกๆ ที่ทำงานในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 ใช้สี รูปทรง และเส้นในการสร้างภาพวาด ประติมากรรม และภาพเขียนที่ให้ความรู้สึกเป็นอิสระจากวัตถุที่ระบุตัวตน ทิวทัศน์ และผู้คน การเป็นนามธรรมทำให้ศิลปินมีอิสระในการทดลองใช้วิธีการทางศิลปะในระดับใหม่ และช่วยให้ศิลปินเหล่านี้ปรับเปลี่ยนความหมายดั้งเดิมของคำว่า “ศิลปะ” ได้           การเคลื่อนไหวของการออกแบบกราฟิกที่สำคัญหลายขบวนการ เช่น สไตล์สวิสในปี 1950 สไตล์เมมฟิสในปี 1980 และสไตล์มินิมอลในปี 1990 ได้รับแรงบันดาลใจจากโลกแห่งศิลปะแบบนามธรรม รูปแบบทางเรขาคณิต เลย์เอาต์ที่เรียบง่าย